วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คันจิ : N5 พ่อ



อ่านแบบจีน (on) : フ
อ่านแบบญี่ปุ่น (kun) : ちち
4 strokes

ความหมาย : father(พ่อ) 

ตัวอย่างคำ : 
ちちおや【父親】พ่อ 
そふ【祖父】ปู่ ตา 
เพิ่มเติม : 
ちち【父】พ่อ 
ใช้พูดถึงพ่อของตัวเองตอนคุยกับคนอื่น 
おとうさん【お父さん】 คุณพ่อ 
ใช้เรียกพ่อตัวเองตอนคุยกับพ่อหรือคนในครอบครัว 
ใช้พูดถึงพ่อของคนอื่น

Read More

คันจิ : N5 แม่



อ่านแบบจีน (on) : ボ
อ่านแบบญี่ปุ่น (kun) : はは
5 strokes
ความหมาย : mother(แม่) 
ตัวอย่างคำ : 
ははおや【母親】แม่ 
そぼ【祖母】ย่า ยาย 
ぼご【母語】ภาษาแม่
เพิ่มเติม : 
はは【母】แม่ 
ใช้พูดถึงแม่ของตัวเองตอนคุยกับคนอื่น 
おかあさん【お母さん】 คุณแม่ 
ใช้เรียกแม่ตัวเองตอนคุยกับแม่หรือคนในครอบครัว 
ใช้พูดถึงแม่ของคนอื่น

Read More

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เกี่ยวกับวันเกิด

วันนี้เป็นวันเกิดของเพื่อนคนนึงค่ะ ก็เลยอยากเขียนเกี่ยวกับวันเกิดซะหน่อย
คำว่าวันเกิดในภาษาญี่ปุ่นก็คือ คำว่า 誕生日(たんじょうび)
誕生 แปลว่าการเกิด  แปลว่าวัน

การอวยพรวันเกิด การฉลองวันเกิด 誕生日お祝い (たんじょうびおいわい)
คำอวยพรวันเกิดแบบง่ายๆ  เช่น 誕生日おめでとう หรือ お誕生日おめでとうございます
คำว่าวันเดือนปีเกิดที่มักจะมีให้กรอกในเอกสารแบบฟอร์มต่างๆ  生年月日(せいねんがっぴ)

คำว่า เกิด คำแรกที่ผู้เขียนรู้จักก็คือคำว่า うまれる【生まれる】 ลองนำคำนี้มาแต่งประโยคดูซักหน่อยดีกว่าわたしはชื่อสถานที่生まれた。ฉันเกิดที่...
かのじょこども生まれる。 หล่อน(แปลแบบนี้ไม่สุภาพป่าวนะ)จะคลอดลูก
生まれてはじめてタイりょうりをたべた。เป็นครั้งแรกตั้งแต่เกิดมาที่กินอาหารไทย

Read More

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คันจิ : N4 ตัวที่ 2 ป่า



อ่านแบบจีน (on) : リン
อ่านแบบญี่ปุ่น (kun) : はやし
8 strokes
ความหมาย : forest (ป่าไม้)

ตัวอย่างคำ : 
りんかん【林間】ในป่า 
しんりん【森林】ป่าไม้ 
まつ‐ばやし【松林】หรือ しょう‐りん【松林】 ป่าสน

Read More

คันจิ : ตัวเลข 6-10

เลข 6 
六 
อ่านแบบจีน (on) : ロク
อ่านแบบญี่ปุ่น (kun) : む/む(つ)/むっ(つ)/むい
4 strokes

เลข 7
อ่านแบบจีน (on) : シチ
อ่านแบบญี่ปุ่น (kun) : なな/なな(つ)/なの
2 strokes

เลข 8

อ่านแบบจีน (on) : ハチ
อ่านแบบญี่ปุ่น (kun) : や/やっ(つ)/よう
2 strokes
 
เลข 9

อ่านแบบจีน (on) : キュウ/ク
อ่านแบบญี่ปุ่น (kun) : ここの(つ)
2 strokes

เลข 10

อ่านแบบจีน (on) : ジュウ/ジッ
อ่านแบบญี่ปุ่น (kun) : とお/と
2 strokes

Read More

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Japanese Kanji Flashcards การ์ดช่วยจำคันจิสำหรับการสอบ JLPT

 
ที่ผู้เขียนมีอยู่ในมือ คือ The Complete Set of Kanji Suitable for Students Studying for Levels N1 of the Japanese Language Proficiency Test ลองใช้แล้วรู้สึกว่าคุ้มค่าเลยอยากแนะนำต่อนะคะ
ใครสนใจสามารถคลิกเลือกซื้อได้จาก โฆษณา amazon ทางด้านขวามือได้เลยนะคะ(ถ้าจะซื้อก็อยากให้ช่วยคลิกจากในเว็บนะคะ แต่ถ้าไม่ซื้อก็ไม่เป็นไร รออ่านที่ผู้เขียนจะค่อยๆ อัพบล๊อกไปเรื่อยๆ ก็ได้ค่ะ) ของ level อื่นๆ ก็มีครบค่ะ สงสัยว่า level ไหนควรซื้อเซ็ตไหน สอบถามผู้เขียนได้ ขอบคุณค่ะ

จากที่ได้ตัดใจซื้อมา โดยท่องประโยคที่ว่า การศึกษาคือการลงทุน ซึ่งจะได้กำไรมิรู้จบในภายหน้า
รู้สึกพอใจ และไม่ผิดหวังเลยค่ะ การ์ดคันจิช่วยทำให้จำง่ายขึ้น ไปไหนมาไหนก็แอบพกเอาไปท่องได้ตลอด (ค่อยๆ เอาไปทีละห้าใบสิบใบ) และที่ชอบมาก คือมีตัวอย่างคำศัพท์และวิธีการเขียนให้ด้วย เหมือนได้ท่องศัพท์เตรียมสอบไปพร้อมๆ กัน ^-^


ของในกล่อง :
1. การ์ดคันจิ 895 ใบ (สำหรับเซ็ตนี้ เซ็ตอื่นจำนวนจะแตกต่างกันไป)
2. คู่มือแนะนำการอ่านการ์ด และดัชนีตัวคันจิ

ตัวอย่างการ์ด (ภาพจากเว็บอื่น)

















ส่วนด้านหน้า ประกอบด้วย
  1. ตัวคันจิหลัก
  2. ตัวอย่างคันจิที่รวมเป็นคำศัพท์
  3. จำนวนเส้น จำนวนบุชุ จำนวนเส้นที่ไม่เป็นบุชุ
  4. ภาพแสดงลำดับการเขียนคันจิ
  5. หมายเลขอ้างอิง
  6. หมายเลขอ้างอิงของตัวคันจิอื่นที่คล้ายกัน
  7. ตัวคันจิอื่นที่คล้ายกัน
  8. ความหมายตัวคันจิอื่นที่คล้ายกันนั้นๆ
  9. บุชุ

















ส่วนด้านหลัง ประกอบด้วย
  1. คำอ่านแบบจีน
  2. คำอ่านแบบญี่ปุ่น
  3. ความหมายของตัวคันจิหลักเป็นภาษาอังกฤษ
  4. ภาพแสดงการแบ่งส่วนบุชุ
  5. ความหมายและคำอ่านตัวอย่างคันจิที่รวมเป็นคำศัพท์
  6. ความหมายของบุชุ (ถ้ามี)

Read More

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ปลาไหล อะนะโกะ กับ อุนะกิ

ก่อนหน้านี้ไม่นานนัก มีปรากฏการณ์น้องปลาไหลอะนะโกะครองเฟซบุ้ก ซึ่งมีที่มาจาก http://anago.crap.jp/ ทำให้ผู้เขียนบังเกิดความสงสัยขึ้นมาอีกครั้ง (เคยสงสัยมาก่อนแล้วก็ลืมๆ ไป)
เอ...อะนะโกะ กับ อุนะกิ มันต่างกันยังไงน้า เคยกินทั้งสองอย่างอร่อยทั้งคู่ ^-^ ก็เลยลองใช้อากู๋ค้นหาจนไปเจอหลายๆ เว็บ ให้คำอธิบายไว้ยืดยาว (อ่านไม่ไหว) แต่สรุปย่อๆ ได้ว่า

ที่ญี่ปุ่นถ้าพูดถึงน้องอะนะโกะ มักจะนึกถึงน้องปลาไหลสายพันธุ์ที่นำมาเป็นอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่คือพันธุ์ มะอะนะโกะ (マアナゴ) Conger myriaster ที่มีชีวิตอยู่ที่ก้นทะเลที่เป็นโคลนทรายในทะเลตื้นๆ นั่นเอง

ส่วนน้องอุนะกิ ก็มักจะนึกถึงน้องปลาไหลญี่ปุ่น Anguilla japonica ซึ่งมีวงจรชีวิตอยู่ทั้งในน้ำจืด (แม่น้ำ) และน้ำเค็ม (ทะเล) และรายละเอียดเกี่ยวกับวงจรชีวิตของน้องอุนะกินี้ก็เป็นที่สนใจของนักวิจัยอยู่

พอรู้ถึงความแตกต่างขึ้นมาบ้าง แต่ก็ยังงงๆ มันก็ยังงงๆ ^-^

Read More

คันจิ : N1 ตัวที่ 2 ความสัมพันธ์



อ่านแบบจีน (on) : エン/ネン
อ่านแบบญี่ปุ่น (kun) :ふち
15 strokes
ความหมาย : relation / edge (ความสัมพันธ์/ขอบ)
ตัวอย่างคำ :
えんだん【縁談】การขอแต่งงาน
ぎんぶち【銀縁】ขอบสีเงิน (เช่น แว่นกรอบเงิน)


Read More

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คันจิ : N1 ตัวที่ 1 ส่วนย่อย



อ่านแบบจีน (on) : ア
อ่านแบบญี่ปุ่น (kun) :
7 strokes
ความหมาย : sub- (ส่วนย่อย)
ตัวอย่างคำ :
あえん【亜鉛】สังกะสี
あたいりく【亜大陸】ทวีปย่อย, อนุทวีป


Read More

คันจิ : N3 ตัวที่ 1 พระราชา



อ่านแบบจีน (on) : オウ/ノウ
อ่านแบบญี่ปุ่น (kun) :
4 strokes
ความหมาย : king (พระราชา)
ตัวอย่างคำ :
おうさま【王様】พระราชา
しんのう【親王】เจ้าชาย
おうじ【王子】เจ้าชาย

Read More

คันจิ : N2 ตัวที่ 1 ยอดเยี่ยม



อ่านแบบจีน (on) : イ
อ่านแบบญี่ปุ่น (kun) :えら(い)
12 strokes
ความหมาย : great (ยิ่งใหญ่, ยอดเยี่ยม)
ตัวอย่างคำ :
いりょく【偉力】พลังที่ยิ่งใหญ่
えらぶつ【偉物】คนที่ยอดเยี่ยม

Read More

คันจิ : N4 ตัวที่ 1 พลัง



อ่านแบบจีน (on) : リョク/リキ
อ่านแบบญี่ปุ่น (kun) : ちから
2 strokes
ความหมาย : power (พลัง)
ตัวอย่างคำ :
たいりょく【体力】ความแข็งแรงทางกาย
みずのちから【水の力】พลังงานน้ำ
のうりょく【能力】ความสามารถ

Read More

วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คันจิ : ตัวเลข 1-5

เลข 1


อ่านแบบจีน (on) : イチ/イツ
อ่านแบบญี่ปุ่น (kun) : ひと(つ)
1 stroke

เลข 2

อ่านแบบจีน (on) :  ニ
อ่านแบบญี่ปุ่น (kun) : ふた/ふた(つ)
2 strokes

เลข 3

อ่านแบบจีน (on) :  サン
อ่านแบบญี่ปุ่น (kun) : み/みっ(つ)/み(つ)
3 strokes

เลข 4

อ่านแบบจีน (on) :  シ
อ่านแบบญี่ปุ่น (kun) : よ/よん/よっ(つ)/よ(つ)
5 strokes

เลข 5

อ่านแบบจีน (on) :  ゴ
อ่านแบบญี่ปุ่น (kun) :  いつ/いつ(つ)
4 strokes

Read More

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

11/11/11 กับ 11/11/22 (yy/mm/dd)

วันนี้วันที่ 11 เดือน 11 ปี (20)11 ค่ะ ใน social network ก็มีคนโพสต์ข้อความเกี่ยวกับวันนี้กันมากมายเลย ผู้คนมากมายต่างก็ถือเอาวันนี้เป็นวันดีที่จะมีงานมงคลต่างๆ  ทั้งการแต่งงาน การคลอดลูก บางคนบอกว่า วันนี้อาจจะเป็นวันคนโสด เพราะว่า เลขหนึ่งแทนคนโสด หลายๆ คนเลยขอสละโสดวันนี้ซะเลย ^-^

จริงเท็จประการใดไม่อาจทราบได้ค่ะ แต่ว่าวันนี้ทำให้นึกถึงอีกวันนึง คือ วันที่ 22 เดือน 11 ในญี่ปุ่น (ปีอะไรก็ได้) ซึ่งเป็นวันหนึ่งที่คนญี่ปุ่นนิยมจัดงานแต่งงาน สาเหตุนั่นก็เพราะว่า
โดยปกติแล้วญี่ปุ่นจะใช้วันที่ในรูปแบบ ปีเดือนวัน เมื่อไม่พูดถึงปี ก็คงเหลือแค่เดือนวัน ก็คือ 1122 ในภาษาญี่ปุ่น 1 คือ ichi, hitotsu และ 2 คือ ni, futatsu (ที่จริงแล้วอาจจะอ่านได้หลายอย่างมาก ตามแต่โอกาส บริบท หรือความรู้สึก)

1122 นั้น เลข 1 สองตัว คนญี่ปุ่นอ่านว่า ichi ichi  และย่อเสียงได้เป็น ii (いい)
เลข 2 สองตัว คนญี่ปุ่นอ่านว่า futatsu futatsu และย่อเสียงได้เป็น fufu สามารถเทียบได้เป็น fuufu (ふうふ)รวมกันได้เป็น いいふうふ(いい夫婦)แปลเป็นไทยได้ว่า คู่สามีภรรยาที่ดี 

และนั่นจึงเป็นสาเหตุที่คนญี่ปุ่นนิยมแต่งงานในเดือน 11 วันที่ 22

นึกๆ ดู คนญี่ปุ่นก็มีการถือโชคลางตามเสียงอ่านเหมือนๆ คนไทยที่ชอบเลข 9 เพราะจะได้ก้าวหน้า อยู่เหมือนกันนะคะ แต่ถ้าเป็นเลข 9 นี่สำหรับคนญี่ปุ่นจะเป็นเลขที่ไม่ค่อยดีนัก เพราะ 9 ในภาษาญี่ปุ่นมีคำอ่านนึงอ่านว่า ku ซึ่งไปพ้องกับ 苦 ซึ่งหมายถึงความยากลำบาก ความเจ็บปวด (เรามักจะเห็นตัวคันจินี้ในคำว่า kurou  (苦労))
นอกจากนี้ เลข 4 สำหรับคนญี่ปุ่นก็เป็นเลขที่ไม่ดีอย่างมาก เนื่องจากคำอ่านนึงของ 4 คือ shi ซึ่งไปพ้องกับ  死 ซึ่งหมายถึงความตาย (เรามักจะเห็นตัวคันจินี้ในคำว่า shinu  (死ぬ))

และอาจจะมีคำอื่นๆ อีกที่ยังไม่รู้ หรือยังนึกไม่ออก ถ้ามีโอกาสไว้จะเอามาเขียนให้อ่านกันเล่นๆ อีกนะคะ

Read More

การสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น

เชื่อว่าผู้ที่ได้ร่ำเรียนภาษาญี่ปุ่นมาหลายๆ คนน่าจะทราบกันดีอยู่แล้วนะคะ เกี่ยวกับการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น Japanese-Language Proficiency Test หรือ JLPT หรือภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 日本語能力試験 (Nihongo Nōryoku Shiken) แต่สำหรับผู้ที่เข้าสู่วงการภาษาญี่ปุ่นใหม่ๆ อาจจะยังไม่รู้จักก็เป็นได้ จึงอยากจะขอแนะนำสักเล็กน้อยค่ะ

การสอบวัดระดับ JLPT ที่ว่านี้ เป็นการสอบวัดระดับความรู้ความสามารถในภาษาญี่ปุ่นของชาวต่างชาติ (คนที่ไม่ใช่ญี่ปุ่น) ที่จัดสอบในประเทศต่างๆ รวมทั้งในประเทศญี่ปุ่นเองด้วย โดยจะใช้ข้อสอบเดียวกันและทำการสอบวันเดียวกันทุกประเทศ

ปัจจุบันมีการจัดสอบปีละสองครั้ง คือ ในวันอาทิตย์แรกของเดือนกรกฎาคม และวันอาทิตย์แรกของเดือนธันวาคม และมีการแบ่งการวัดระดับเป็น 5 ระดับ ได้แก่ N5 N4 N3 N2 และ N1 โดยเรียงจากง่ายไปยาก ซึ่งในแต่ละระดับก็จะมีหลักเกณฑ์ในการที่จะสอบผ่านแตกต่างกันไป และในการสอบแต่ละครั้งผู้สมัครสอบสามารถสมัครได้เพียงระดับเดียวเท่านั้นค่ะ

คนที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก official website ของ JLPT http://www.jlpt.jp/e/index.html
และติดตามการรับสมัครสอบในประเทศไทยได้จาก สนญ.
http://www.ojsat.or.th/

Read More